อาการนิ้วล็อก เพราะเล่นมือถือ
ในปัจจุบัน เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทกับการใช้ชีวิตมากขึ้นโดยเฉพาะการเล่นสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตเป็นเวลานานๆ นอกจากนี้ด้วยพฤติกรรมการใช้ชีวิตอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ทำให้มีการใช้งานนิ้วมือด้วยท่าเดิมซ้ำๆ ซึ่งถือเป็นอีกปัจจัยสำคัญเสี่ยงต่อเป็นโรคนิ้วล็อกเพิ่มมากขึ้น
รักษาได้โดย
- ลดพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ที่กล่าวข้างต้นและนำมือแช่น้ำอุ่นตอนเช้าหลังตื่นนอน ประมาณ 5 นาที ร่วมกับรับประทานยาลดปวดและอักเสบตามอาการ
- ฉีดยาลดการอักเสบเฉพาะที่ ตรงตำแหน่งปลอกหุ้มเส้นเอ็นบริเวณฐานของนิ้วมือ (A1-Pulley) ซึ่งยาที่ใช้นั้นเป็นยาในกลุ่มสเตียรอยด์ ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง ภายใต้ความดูแลของแพทย์
- การผ่าตัดเข้าไปตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นบริเวณฐานของนิ้วมือ (A1-Pulley) วิธีนี้เป็นวิธีสุดท้ายที่ใช้ในการรักษา จะช่วยลดอาการปวดและทำให้เส้นเอ็นขยับได้คล่องขึ้น อาการนิ้วล็อกเวลาใช้งานลดลง โดยการผ่าตัดจะฉีดยาชาเฉพาะที่ ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาลเพื่อดูอาการหลังจากผ่าตัด เมื่อผ่าตัดเสร็จแล้วนิ้วมือสามารถขยับได้เลยตั้งแต่หลังผ่าตัดเสร็จ
ถึงแม้ว่าโรคนิ้วล็อกจะไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่เป็นโรคที่รบกวนการใช้ชีวิตปรำจำวันไม่น้อย ดังนั้นวิธีการรักษาที่ดีที่สุด คือ การป้องกันและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานนิ้วมือให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอาการนิ้วล็อกมากกว่าการที่จะต้องมาหาทางรักษาในภายหลัง หากเป็นแล้วควรมาพบแพทย์เพื่อการรักษาที่ถูกต้องต่อไป
สนับสนุนข้อมูลโดย : นพ.ไชยฤทธิ์ ชีวาวัฒนชัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอุบัติเหตุและโรคกระดูกและข้อ
โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 1745 ต่อ ศูนย์ศัลยกรรมกระดูก กล้ามเนื้อ ข้อเข่า ข้อไหล่ และสะโพก